วันพุธที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2554

สื่อประเภทฉาย

สื่อประเภทฉาย เป็นสื่อที่ช่วยกระตุ้นผู้เรียนให้ลงมือปฏิบัติโดยตรง เก็บประสบการณ์ และสามารถใช้วัสดุ อุปกรณ์ ในการทำงานตามคำสั่งของผู้สอนที่กำหนด หรือใช้ความคิดสร้างสรรค์ที่ผู้เรียนอยากแสดงออกมาก็ได้ ผู้เรียนเรียนรู้ได้ง่ายเพราะเป็นของจริงที่สามารถจับและสัมผัสได้ สื่ออีกอย่างหนึ่งคือสื่อวัสดุที่ต้องอาศัยอุปกรณ์เป็นส่วนสำคัญในการแสดงเนื้อหาให้ปรากฏชัดเจนเข้าใจโดยรวม
ข้อดีของสื่อประเภทฉาย


1.แสดงภาพตามความเป็นจริง ทำให้จำได้ง่าย
2.สัมผัสได้ด้วยประสารทสัมผัสทั้ง 5 จึงเกิดการรับรู้ได้ดี
3. อยู่ในลักษณะ 3 มิติ
4. สามารถจับต้องและพิจารณารายละเอียดได้
5. เหมาะสำหรับการแสดงสิ่งที่ไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า (เช่น การแสดงอวัยวะ ภายในของมนุษย์ สัตว์)


ข้อเสียของสื่อประเภทฉาย


1.การจัดหาลำบาก
2.บางครั้งราคาสูงเกินไป
3.ต้องอาศัยความชำนาญในการผลิต
4.ไม่เหมือนของจริงทุกประการ บางครั้งเกิดความเข้าใจผิด


หลักการใช้สื่อประเภทฉาย


ใช้ได้กับจำนวนผู้เรียนน้อยๆ จนถึงจำนวนมาก โดยบรรจุสาระเนื้อหาตามหลักสูตรที่กำหนด ผู้เรียนสามารถยืมไปเรียนเองที่บ้านได้โดยไม่จำกัดเวลา สถานที่ จำนวนครั้งที่เรียน สื่อที่ใช้กันในปัจจุบันแต่มองข้ามความสำคัญเป็นอย่างยิ่งคือโทรทัศน์ นิยมชมกันมาก แต่ไม่ค่อยนิยมนำมาเป็นสื่อการเรียนการสอน

สื่อสิ่งพิมพ์

สื่อสิ่งพิมพ์ หมายถึง หนังสือและเอกสารสิ่งพิมพ์ต่างๆ ซึ่งได้แสดงหรือจำแนกหรือเรียบเรียงสาระความรู้ต่างๆ โดยใช้หนังสือที่เป็นตัวเขียน หรือตัวพิมพ์เป็นสื่อเพื่อแสดงความหมายสื่อสิ่งพิมพ์มีหลายประเภท เช่น เอกสาร หนังสือ ตำรา หนังสือพิมพ์ นิตยสาร วารสาร จุลสาร จดหมาย จดหมายเหตุ บันทึก รายงาน วิทยานิพนธ์

ข้อดีของสื่อสิ่งพิมพ์


1.กระบวนการในการผลิตวัสดุสิ่งพิมพ์สามารถทำได้หลายแบบ เปิดโอกาสให้เลือกวิธีผลิตที่เหมาะสมกับสถานการณ์นั้นๆ
2.สามารถจัดพิมพ์ได้หลายรูปแบบ ตามวัตถุประสงค์ที่จะนำไปใช้ เช่น ใบปลิว จดหมายเวียน และเอกสารเผยแพร่
3. สามารถใช้วัสดุสิ่งพิมพ์ได้หลายๆ ทาง อาจใช้เป็นสื่อให้การศึกษาด้วยตัวของมันเองหรือใช้สนับสนุนสื่ออื่นๆ ก็ได้
4.สิ่งพิมพ์สามารถผลิตเพื่อใช้ให้เหมาะกับกลุ่มเป้าหมายเฉพาะด้านได้
5.การผลิตสิ่งพิมพ์สามารถปรับให้เหมาะสมกับกระบวนการใช้และผลลัพธ์ที่ต้องการตามสภาพของเครื่องอำนวยความสะดวกที่มีอยู่


ข้อเสียของสื่อสิ่งพิมพ์


1.วัสดุสิ่งพิมพ์มีความบอบบางและฉีกขาดง่าย
2.เก็บรักษายากเนื่องจากมีลักษณะ รูปทรง และขนาดแตกต่างกันมาก
3.การเก็บรักษาในระยะยาวสำหรับสิ่งพิมพ์จำนวนมากๆ ยากที่จะป้องกันให้พ้นจากความเปียกชื้น ความร้อน และฝุ่นละออง
4.การพิมพ์ในระบบที่มีคุณภาพต้องใช้การลงทุนสูงมาก โดยเฉพาะการพิมพ์ในระบบสี่สี


หลักการใช้สื่อสิ่งพิมพ์


ตำรา หนังสือเอกสารประกอบการเรียนการสอนแต่ละวิชา ส่วนใหญ่จะบรรจุคำบรรยายการสอน จุดประสงค์การเรียนรู้หรือจุดประสงค์เชิงพฤติกรรม คำขี้แจง คำแนะนำ เนื้อหา พร้อมด้วยแบบฝึกหัด ข้อทดสอบต่างๆ ไว้ ลักษณะเป็นรูปเล่มขนาดก็ต่างกันออกไปแล้วแต่การออกแบบ นอกจากนี้ยังมีวารสาร นิตยสาร ที่สามารถนำเอาบทความ เรียงความ สารคดีดีๆ ที่มีเกร็ดความรู้เกี่ยวข้องกับเนื้อหาที่สอนมาประกอบการเรียนรู้ให้แก่ผู้เรียนได้เช่นกัน หรือจะเป็นภาพประกอบตัดลงมาแปะลงบนกระดาษแข็งใช้ ยกตัวอย่างประกอบได้ดี เช่น ภาพดอกไม้ สัตว์ วิวทิวทัศน์ คน และวัสดุหรือวัตถุต่างๆ เป็นแผนภูมิ แผนภาพ กราฟ ที่แสดงสถิติข้อมูลที่เป็นข้อเท็จจริง แผนผังการเดินทาง แผนที่ เป็นต้น ภาพที่นำมาใช้ส่วนใหญ่จะไม่มีตำราเรียน

สื่อประเภทคอมพิวเตอร์ออฟไลน์

สื่อประเภทคอมพิวเตอร์ออฟไลน์ คือ สื่อคอมพิวเตอร์แบบไม่ใช้สายหรือไม่มีการติดต่อกันทางสาย ซึ่งหมายถึง การนำแผ่นดิสก์หรือแผ่นซีดีรอมที่บันทึกข้อมูล มาเล่นบนเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องใดเครื่องหนึ่ง เพียงเครื่องเดียว (เรียกกันว่าแบบแสตนด์อะโลน (stand alone) แผ่นซีดีรอมใช้อยู่ที่คอมพิวเตอร์เครื่องใด ภาพและเสียงก็จะแสดงผลอยู่ที่เฉพาะเครื่องนั้น
สามารถใช้ได้ทุกที่ ๆ มีคอมพิวเตอร์ ไม่จำเป็นต้องต่อกับระบบ network เพราะภายในตัวสื่อนี้มีความพร้อมอยู่แล้ว เกิดการจูงใจทำให้มีความกระตือรือร้นในการเรียนรู้ด้วยตนเองได้ง่าย ใช้เวลาในการเรียนรู้ไม่มากนักเนื่องจากการใช้งานของโปรแกรมไม่ซับซ้อน

ข้อดีของสื่อออฟไลน์

ข้อเสียของสื่อออฟไลน์

1.เป็นสื่อที่มีข้อมูลค่อนข้างเก่าง่าย และ ยากต่อการปรับปรุง
2.ไม่สามารถแก้ไข้ข้อมูลได้ตลอดเวลา
การเรียนจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์กับบทเรียน การให้ผู้เรียนอ่านเนื้อหาไปทีละหน้าจอๆ นั้นไม่ใช่การสร้างปฏิสัมพันธ์ที่มีประสิทธิภาพนักสำหรับคอมพิวเตอร์ช่วยสอน ผู้สร้างควรที่จะสร้างสรรค์กิจกรรมมากมายหลายรูปแบบเพื่อให้ผู้ใช้เกิดแรงจูงใจในการเรียนมากขึ้น ตัวอย่างเช่น แทนที่จะนำเนื้อหาเกี่ยวกับองค์ประกอบต่างๆ ของคอมพิวเตอร์ไปทีละหน้าจอๆ ผู้สร้างสามารถที่จะออกแบบให้ผู้เรียนคลิกที่ภาพนั้นก็จะนำไปสู่ภาพขององค์ประกอบคอมพิวเตอร์อีกครั้งหนึ่ง นอกจากนั้นผู้สร้างอาจที่จะใช้เสียงบรรยายเนื้อหาได้ด้วย การนำเสนอเนื้อหาในลักษณะนี้ นอกจากจะบังคับให้ผู้ใช้มีปฏิสัมพันธ์กับบทเรียนแล้วยังทำให้ผู้ใช้บทเรียนมองเห็นภาพความสัมพันธ์ขององค์ประกอบของคอมพิวเตอร์ได้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น นอกจากนั้นยังเป็นการสร้างแรงจูงใจในการเรียนเนื่องจากการที่ผู้ใช้เกิดความอยากรู้อยากเห็นว่าจะเกิดอะไรขึ้นหลังจากการคลิกลงบนภาพ
หลักการใช้สื่อประเภทคอมพิวเตอร์ออฟไลน์

สื่อประเภทคอมพิวเตอร์ออนไลน์

สื่อประเภทคอมพิวเตอร์ออนไลน์ คือการใช้สายนำสัญญาณและใช้ซอฟแวร์จัดการให้ข้อมูลในเครื่องหนึ่งไปแสดงผลบนเครื่องอื่นได้ สื่อมัลติมีเดียก็ได้พัฒนาขึ้นตามลำดับ และถูกนำไปใช้ในประโยชน์ใน ระบบเครือข่ายเล็กๆ (LAN) นั่นคือเริ่มใช้เป็นสื่อแบบออนไลน์ (online) อาศัยสายสัญญาณที่เชื่อมโยงติดต่อกันนั้นนำข้อมูลมัลติมีเดียจาก เครื่องแม่ข่าย (server) กระจายไปแสดงผลที่ทุก เครื่องที่เป็น ลูกข่าย (clients) ใน เครือข่าย (network)

1. สามารถถ่ายทอดและเผยแพร่สื่อโดยไร้พรมแดน
2. สามารถปรับปรุงข้อมูลได้ตลอด
3. มีการปฏิสัมพันธ์ในการเรียนรู้
4. ส่งเสริมการเรียนรู้ด้วยตนเอง
5. สามารถเลือกเรียนได้ตามศักยภาพของตนเอง
6.สร้างความรับผิดชอบ ความมั่นใจในตนเอง

ข้อดีของสื่อออนไลน์

ข้อเสียของสื่อออนไลน์

1. ผู้เรียนต้องมีเครื่องคอมพิวเตอร์
2. ต้องมีความรู้ด้านคอมพิวเตอร์พื้นฐาน
3.บางครั้งอาจมีปัญหาทางด้านเทคนิคเวลาใช้งาน
4.ค่าใช้จ่ายในการใช้งานอินเตอร์เน็ต
5.ต้นทุนในการพัฒนาแบบเรียนสูง
6.ผู้มีความรู้ในการผลิตและออกแบบสื่อให้มีคุณภาพหาได้ยาก

หลักการใช้สื่อประเภทคอมพิวเตอร์ออนไลน์

การจัดการเรียนการสอนผ่านเว็บเป็นการนำความสามารถในรูปแบบต่างๆ ของเครือข่ายอินเตอร์เน็ตมาใช้ในการเรียนการสอนเนื่องจากว่าการเรียนในลักษณะ นี้ผู้เรียนสามารถศึกษาด้วยตนเองได้ตามความต้องการในการเรียนการสอน

สื่อประเภทเสียง

สื่อประเภทเสียง คือสื่อที่มีเฉพาะเสียง บรรจุเสียงพูด ดนตรีประกอบ และเสียงเอฟเฟ็กต์ต่างๆ รวมอยู่ในตลับที่เรียกว่าเทปคาสเซ็ท โดยต้องอาศัยเครื่องเล่นเทปมาเปิดฟัง สามารถนำมาใช้กับบัตรคำ แผนภูมิ ชาร์ต ภาพชุด มีการอธิบายขั้นตอนการสาธิต การทำงาน การบรรยาย การปราศรัย เพื่อให้ผู้เรียนได้ฟังเพิ่มพูนความรู้ ในปัจจุบันมีรายการวิทยุกระจายเสียงที่กระจายอยู่ตามท้องถิ่นต่าง ๆ

1.สามารถใช้กับกลุ่มเป้าหมายเป็นมวลชนจำนวนมากได้
2.ระยะกระจายเสียงกว้างและถ่ายทอดไปได้ในระยะไกล
3.ดึงดูดความสนใจของผู้ฟังและช่วยกระจายข้อมูลได้ในเวลาอันรวดเร็วมาก
4.สามารถใช้ได้โดยไม่จำกัดขนาดของกลุ่ม
5.เหมาะสำหรับการเรียนรู้กับทุกกลุ่ม

ข้อดีของสื่อประเภทเสียง

ข้อเสียของสื่อประเภทเสียง

1.การบันทึกเสียงคุณภาพสูงต้องใช้ห้องและอุปกรณ์เฉพาะ
2.บันทึกได้ง่ายและรวดเร็ว


หลักการใช้สื่อประเภทเสียง

โดยส่วนมากเสียงที่ใช้จะเป็นการสื่อสารระหว่างสิ่งมีชีวิตกับสิ่งมีชีวิต ให้รู้ถึงความหมายที่จะสื่อถึงกัน แต่มนุษย์ได้พัฒนาสื่อเสียงให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นโดนการใช้อุปกรณ์ทางเล็กทรอนิคต่างๆมาช่วย

สื่อกิจกรรม

สื่อกิจกรรม และกระบวนการ หมายถึง กิจกรรมหรือกระบวนการที่ครูหรือผู้เรียนกำหนดขึ้นเพื่อเสริมสร้างประสบการณ์การเรียนรู้ ใช้ในการฝึกทักษะซึ่งต้องใช้กระบวนการคิด การปฏิบัติ การเผชิญสถานการณ์ และการประยุกต์ความรู้ของผู้เรียน เช่น การแสดงละครบทบาทสมมติ การสาธิต สถานการณ์จำลอง การจัดนิทรรศการ การไปทัศนศึกษานอกสถานที่ การทำโครงงาน เกม เพลง การปฏิบัติตามใบงาน

ข้อดีของสื่อประเภทกิจกรรม

1.มีคุณค่าต่อสาธารณชนสูง
2.สามารถปรับให้เข้ากับสถานการณ์ทางการสอนได้มากเช่นในบ้าน ในท้องที่สาธารณะต่าง ๆ
3.สามารถใช้สอนทักษะได้ดี
4.กระตุ้นและเร่งเร้าให้มีการกระทำ เนื่องจากการได้เห็น การได้ยิน การอภิปรายและการกระทำ
5.เปิดโอกาสให้มีการพัฒนาผู้นำขึ้น
6.เปิดโอกาสให้ได้เรียนรู้ถึงปัญหาต่าง ๆ หรือเรียนรู้ว่าประชาชนในกลุ่มผู้ดูมีความคิดและความรู้สึก

ข้อเสียของสื่อประเภทกิจกรรม

1.จำเป็นต้องเตรียมการเบื้องต้นและฝึกปฏิบัติอย่างระมัดระวัง
2.จำเป็นต้องอาศัยทักษะความชำนาญในเรื่องที่สาธิตและวิธีการ
3.ถ้าหากมีผู้ชมจำนวนมากอาจมีอุปสรรค ไม่สามารถมองเห็นได้ชัดเจน

หลักการใช้สื่อประเภทกิจกรรม

กิจกรรมใช้ประกอบควบคู่ไปกับสื่อวัสดุอุปกรณ์ต่างๆ อาศัยจิตวิทยาการเรียนรู้ ศิลปะการถ่ายทอด และเทคโนโลยีมาผสมผสานให้เข้ากันเป็นอย่างดี ลักษณะของกิจกรรมต้องอาศัยกระบวนการต่างๆ อย่างละเอียด อาศัยการแสดงออกของผู้เรียน เช่น เกม การทดลอง งานกลุ่มที่ต้องทำร่วมกันเป็นหมู่คณะ การสาธิต การจำลองสถานการณ์ เหตุการณ์ เป็นต้น (วรวิทย์ นิเทศศิลป์.สื่อและนวัตกรรมแห่งการเรียนรู้.ปทุมธานี:สกายบุ๊กส์,2551)

สื่อวัสดุ

สื่อการสอนประเภทวัสดุเป็นสื่อที่มีประโยชน์และคุณค่าต่อการเรียนการสอน ทำให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้เป็นอย่างดีความหมายของสื่อการสอนประเภทวัสดุคำว่า “วัสดุ” ตรงกับคำว่าภาษาอังกฤษว่า materal
“สื่อการสสอนประเภทวัสดุ” หรือ “สื่อวัสดุ” ซึ่งเป็นสื่อขนาดเล็กมีศักยภาพในการบรรลุเก็บเนื้อหาและถ่ายทอดความรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพซึ่งเป็น สื่อขนาดเล็กมีศักยภาพในการบรรลุเก็บเนื้อหาและถ่ายทอดความรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ข้อดีของสื่อวัสดุ

1.แสดงเนื้อหานามธรรมที่ยากต่อการเข้าใจให้เข้าใจง่ายขึ้น
2.สามารถผลิตได้ง่าย ต้นทุนการผลิตต่ำ
3.สะดวกรวดเร็วในการใช้งาน

ข้อจำกัด

1.ใช้ได้กับกลุ่มเป้าหมายขนาดเล็กเท่านั้น
2.การออกแบบและการผลิตไม่ดี อาจทำให้ผู้เรียนเข้าใจยาก

สื่อมัลติมิเดีย

สื่อมัลติมีเดีย คือ การใช้คอมพิวเตอร์ร่วมกับโปรแกรมซอฟต์แวร์ในการสื่อความหมายโดยการผสมผสานสื่อหลายชนิด เช่น ข้อความ กราฟิก (Graphic) ภาพเคลื่อนไหว (Animation) เสียง (Sound) และวีดิทัศน์ (Video) เป็นต้น และถ้าผู้ใช้สามารถที่จะควบคุมสื่อให้นำเสนอออกมาตามต้องการได้จะเรียกว่า สื่อมัลติมีเดียปฏิสัมพันธ์ (Interactive Multimedia) การปฏิสัมพันธ์ของผู้ใช้สามารถจะกระทำได้โดยผ่านทางคีย์บอร์ด (Keyboard) เมาส์ (Mouse) หรือตัวชี้ (Pointer) เป็นต้น

ข้อดีของสื่อมัลติมิเดีย

1. เทคโนโลยีด้านสื่อมัลติมีเดียช่วยให้การออกแบบบทเรียน ตอบสนองต่อแนวคิด และทฤษฎีการเรียนรู้มากยิ่งขึ้น รวมทั้งส่งผลโดยตรงต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน การวิจัยที่ผ่านมาแสดงให้เห็นถึงประสิทธิภาพของสื่อมัลติมีเดียว่า สามารถช่วยเสริมการเรียนรู้ ทำให้ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่สูงขึ้นได้
2. สื่อมัลติมีเดียในรูปแบบของซีดีรอม ใช้ง่าย เก็บรักษาง่าย พกพาได้สะดวก และสามารถทำสำเนาได้ง่าย
3. สื่อมัลติมีเดียเป็นสื่อการสอนที่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ด้วยตนเองตามศักยภาพ ความต้องการ และความสะดวกของตนเอง สามารถสร้างสถานการณ์จำลอง จำลองประสบการณ์ ตลอดจนส่งเสริมให้ผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์กับสื่อให้เกิดการเรียนรู้ด้วยตนเอง
4. ในปัจจุบันมีโปรแกรมช่วยสร้างบทเรียน (Authoring Tools) ที่ง่ายต่อการใช้งานทำให้บุคคลที่สนใจทั่วไปสามารถสร้างบทเรียนสื่อมัลติมีเดียใช้เองได้
5. ผู้สอนสามารถใช้สื่อมัลติมีเดียเพื่อสอนเนื้อหาใหม่ เพื่อการฝึกฝน เพื่อเสนอสถานการณ์จำลอง และเพื่อสอนการคิดแก้ปัญหา ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของการนำไปใช้เป็นประการสำคัญ รูปแบบต่างๆ ดังกล่าวนี้จะส่งผลดีต่อการเรียนรู้ วิธีการเรียนรู้ และรูปแบบการคิดหาคำตอบ
6. สื่อมัลติมีเดียช่วยสนับสนุนให้มีสถานที่เรียนไม่จำกัดอยู่เพียงห้องเรียน เท่านั้น ผู้เรียนอาจเรียนรู้ที่บ้าน ที่ห้องสมุด หรือภายใต้สภาพแวดล้อมอื่นๆ ตามเวลาที่ ตนเองต้องการ
7. เทคโนโลยีสื่อมัลติมีเดีย สนับสนุนให้เราสามารถใช้สื่อมัลติมีเดียกับผู้เรียนได้ ทุกระดับอายุ และความรู้ หลักสำคัญอยู่ที่การออกแบบให้เหมาะสมกับผู้เรียนเท่านั้น
8. สื่อมัลติมีเดียที่มีคุณภาพ นอกจากจะช่วยให้เกิดความคุ้มค่าในการลงทุนของโรงเรียน หรือหน่วยงานแล้ว ความก้าวหน้าของระบบครือข่าย ยังช่วยส่งเสริมให้การใช้สื่อมัลติมีเดียเป็นประโยชน์ต่อสถานศึกษาอื่นๆ อีกด้วย


ข้อเสียของสื่อมัลติมิเดีย

1. ถึงแม้ว่าขณะนี้ราคาของเครื่องคอมพิวเตอร์ และค่าใช้จ่ายต่าง ๆ เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์จะ ลดลงมากแล้วก็ตาม แต่การที่จะนำคอมพิวเตอร์มาใช้ในวงการศึกษาในบางสถานที่นั้นจำเป็นต้อง มีการพิจารณากันอย่างรอบคอบเพื่อให้คุ้มกับค่าใช้จ่าย ตลอดจนการดูแลรักษาด้วย
2. การออกแบบสื่อมัลติมีเดียเพื่อการศึกษาที่มีคุณภาพเหมาะสมตามหลักทางจิตวิทยา และการเรียนรู้นับว่ายังมีน้อย เมื่อเทียบกับการออกแบบโปรแกรมเพื่อใช้ในวงการด้านอื่น ๆ ทำให้สื่อมัลติมีเดียเพื่อการศึกษามีจำนวน และขอบเขตจำกัดที่จะนำมาใช้ในการเรียนวิชาต่าง ๆ
3. ในขณะนี้ยังขาดอุปกรณ์ที่ได้คุณภาพมาตรฐานระดับเดียวกัน เพื่อให้สามารถใช้ได้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ต่างระบบกัน
4. การที่จะให้ผู้สอนเป็นผู้ออกแบบสื่อมัลติมีเดียเพื่อการศึกษานั้นเป็นงานที่ต้องอาศัยเวลา สติปัญญา และความสามารถเป็นอย่างยิ่ง ทำให้เป็นการเพิ่มภาระของผู้สอนให้มีมากยิ่งขึ้น
5. คอมพิวเตอร์เป็นสื่อที่มีความยุ่งยากในการใช้งาน และความซับซ้อนของระบบการทำงานมาก เมื่อเทียบกับสื่ออื่นๆ
6. มีตัวแปรที่เป็นปัญหานอกเหนือจากการควบคุมมาก เช่น ไฟฟ้าขัดข้อง ระบบ Server เป็นต้น
7. เทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับสื่อมัลติมีเดียมีการเปลี่ยนแปลงเร็วมาก ทำให้ผู้ผลิตสื่อมัลติมีเดียต้องหาความรู้ให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงเสมอ
8. ในการผลิตสื่อมัลติมีเดียนั้นต้องการทีมงานที่มีความชำนาญในแต่ละด้านเป็นอย่างมากอีกทั้งต้องมีการประสานงานกันในการทำงานสูง